เมนู

มาในบาลีนี้ว่า บุคคลพึงปลูกพืชทั้งหลายที่พื้นที่ดี ที่นาดี ที่ปราศจากคอ.
บทว่า จาตุมฺมหาปเถ ได้แก่ ในที่ทางใหญ่สองสายผ่านแยกกันไป. บทว่า
อาชญฺญรโถ ได้แก่ รถเทียมด้วยม้าที่ฝึกแล้ว. บทว่า โอสตปโฏโท
ความว่า ปฏักที่ห้อย ตั้งขวางไว้โดยอาการที่สารถีขึ้นรถยืนอยู่ สามารถถือ
เอาได้. บทว่า โยคฺคาจริโย แปลว่า อาจารย์ฝึกม้า. ชื่อว่า อสฺสทมฺม-
สารถิ
(สารถีผู้ฝึกม้า) เพราะอาจารย์ฝึกม้านั้นแหละ ยังม้าที่ฝึกให้วิ่งไป.
บทว่า เยนิจฺฉกํ ได้แก่ ปรารถนาจะไปโดยทางใด ๆ. บทว่า ยทิจฺฉกํ
ได้แก่ ประสงค์การไปใด ๆ. บทว่า สาเรยฺย ได้แก่ ขับตรงไปข้างหน้า.
บทว่า ปจฺจาสาเรยย ได้แก่ พึงขับกลับ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัส
สมาปัตติบริกรรมด้วยองค์ 5 ในภายหลังอย่างนี้แล้วทรงแสดงอานิสงส์แห่ง
สมาบัติอันคล่องแคล่วด้วยอุปมา 3 เหล่านี้ บัดนี้ เพื่อทรงแสดงลำดับแห่ง
อภิญญาของพระขีณาสพ จึงตรัสคำมีอาทิว่า โส สเจ อากงฺขติ ดังนี้.
คำนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอังคิกสูตรที่ 8

9. จังกมสูตร


ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการจงกรม 5 ประการ


[29] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม 5 ประการนี้
5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล 1
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร 1 ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย 1 อาหาร